หยุด 10 พฤติกรรมทำลายสีรถแบบไม่รู้ตัวสักที ห้ามทำตามเด็ดขาด ถ้าไม่อยากให้รถพัง

พฤติกรรมทำลายสีรถยนต์ แบบไม่รู้ตัว ที่อันตรายมาก ๆ

พฤติกรรมทำลายสีรถ

ผู้ใช้รถอาจจะไม่เคยสังเกตว่าตัวเองกำลังมี พฤติกรรมทำลายสีรถ หรือไม่ เพราะหากสีรถพังหรือเกิดการเสื่อมสภาพนั้น ทำให้ต้องเสียทั้งเงินและเวลาในการเข้าศูนย์สำหรับซ่อมแซมสีรถยนต์ให้กลับมาสวยเหมือนเดิม ดังนั้นเรามาเช็คตัวเองกันว่ามี 10 พฤติกรรมทำลายสีรถอย่างไม่รู้ตัวหรือไม่ จะได้ช่วยป้องกันสีรถให้ดูสวยสดใสเหมือนใหม่อยู่เสมอ

10 พฤติกรรมที่ทำลายสีรถยนต์

1. จอดรถตากแดดเป็นเวลานาน ๆ

การจอดรถตากแดดทิ้งไว้เป็นเวลานาน ๆ นับว่าเป็นหนึ่งใน พฤติกรรมทำลายสีรถยนต์ อันดับต้น ๆ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้เวลาขับรถไปทำงานแล้วต้องจอดรถตากแดดทิ้งไว้นานกว่า 7 ชั่วโมง ก็สามารถทำให้ความร้อนของแสงแดดเกิดการสะสมได้ ทั้งนี้การดึงดูดความร้อนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสีของรถยนต์ว่าเป็นโทนสีอ่อนหรือสีเข้ม โดยสีดำจะมีการสะสมของอุณหภูมิมากกว่าสีอ่อนจึงทำลายสีรถเร็วกว่า เพราะฉะนั้นควรหาที่จอดรถยนต์ใต้ต้นไม้หรือในร่มที่หลบแดด

อ่านเพิ่มเติม : 7 วิธีดูแลรถเมื่อต้องจอดรถตากแดดกลางแจ้งเป็นเวลานาน ๆ เป็นประจำทุกวัน

2. ไม่ใช้ผ้าคลุมรถยนต์

หากจำเป็นต้องจอดรถกลางแจ้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ แล้วไม่ใช้ผ้าคลุมรถยนต์จนทำให้แสงแดดสัมผัสสีรถยนต์โดยตรง ถือว่าเป็นพฤติกรรมทำลายสีรถที่หลายคนไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่อทราบแล้วว่าเป็นพฤติกรรมไม่ควรกระทำ ก็ควรหาผ้าคลุมรถยนต์มาใช้ เพื่อลดจำนวนชั่วโมงที่โดนแดดให้น้อยที่สุด

3. ไม่เช็ดฝุ่นที่เกาะบนสีรถออกทันที

เมื่อฝุ่นติดบนสีรถแล้วเกิดความชื้นก็จะส่งผลให้กลายเป็นคราบ หากไม่เช็ดออกทันทีก็จะกลายเป็นรอยด่าง ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจขณะใช้รถ โดยเฉพาะรถยนต์ที่มีสีเข้มจะถูกมองเห็นรอยคราบได้ชัดเจนมากกว่ารถสีอ่อน สำหรับแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุดในการขจัดคราบก็คือขัดสีรถ

อ่านเพิ่มเติม : ขั้นตอนวิธีขัดสีรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ให้รถเงางาม ลบรอยขีดข่วนได้อย่างดีเยี่ยม

4. ทิ้งคราบขี้นกไว้นาน

รถยนต์ที่มีขี้นกตกใส่แล้วปล่อยทิ้งคราบเกาะไว้นาน ๆ จะทำให้ฤทธิ์ความเป็นกรดของขี้นกทำลายความแวววาวของสีรถยนต์ วิธีแก้ไขปัญหานี้คือจัดเตรียมสเปรย์ทำความสะอาดเพื่อพ่นบนรอยขี้นก จากนั้นรอสักครู่ให้ขี้นกอ่อนตัวแล้วค่อยนำผ้าไมโครไฟเบอร์มาเช็ดออกอย่างเบามือ

5. เติมน้ำมันจนเกือบล้น

หากเติมน้ำมันจนเกือบล้นแล้วปล่อยทิ้งคราบน้ำมันเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งน้ำมันซึมไปยังสีเคลือบผิวรถชั้นบนสุดที่ยากต่อการทำความสะอาด ก็จะไปทำลายความแวววาวของสีรถ เพราะฉะนั้นเมื่อน้ำมันเลอะไปยังด้านนอกของถังน้ำมันรถ ให้นำผ้าไมโครไฟเบอร์ทำความสะอาดทันที นอกจากนี้อาจจะต้องใช้สเปรย์บำรุงเพิ่มความแวววาวกับสีรถด้วย

6. ปล่อยให้มีรอยขีดข่วน

พฤติกรรมการปล่อยให้มีรอยขีดข่วนที่เรียกว่า “ขนแมว” หลายคนอาจมองข้ามเพราะคิดว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร แต่ในความเป็นจริงสามารถก่อให้เกิดสนิมได้ หากเจอความชื้นส่งผลทำให้สีปูดเพราะความชื้นเข้าไปถึงชั้นแผ่นเหล็กหรือโลหะนั่นเอง

7. ไม่ค่อยล้างทำความสะอาดรถ

การขับขี่รถยนต์บนท้องถนนย่อมต้องเผชิญกับสิ่งสกปรกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโคลน ขี้นก ละอองน้ำมัน ควันรถ ฝุ่นละออง หรือเศษแมลง ถ้าเราปล่อยสิ่งสกปรกเหล่านี้ไว้โดยไม่ทำความสะอาด ก็จะเป็นคราบเหลืองที่ส่งผลไปทำลายสีสันและความเงางามของสีรถ ดังนั้นจึงควรล้างรถยนต์เป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง

8. เดินทางในช่วงฝนตก

เมื่อใช้รถยนต์ในช่วงฤดูฝนก็มักจะเจอกับยางไม้ ยิ่งถ้าริมถนนมีต้นไม้มากมายด้วยแล้ว น้ำฝนจะผสมกับยางไม้เข้าไปทำลายสีรถอย่างฝังแน่น โดยที่เจ้าของรถไม่รู้ตัวจนกว่าจะสังเกตเห็นว่าสีรถเริ่มพัง

9. จอดรถใต้ต้นไม้เยอะ ๆ

หลายคนอาจจะคิดว่าจอดรถที่ไหนก็ได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งใต้ต้นไม้เพื่ออาศัยร่มเงาหลบแสงแดด ถึงแม้ว่าจะให้ความร่มรื่นเป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำลายสีรถยนต์ เนื่องจากต้นไม้จะมีละอองเกสรดอกไม้ลอยปลิวมาติดกับรถจนกระทั่งเป็นคราบไม่พึงประสงค์

10. จอดรถใต้หลังคาที่เป็นสังกะสี

ช่วงฤดูฝนผู้คนมักจะมองหาที่จอดรถเพื่อหลบฝน แต่หารู้ไม่ว่าที่จอดรถใต้หลังคาที่เป็นสังกะสีสามารถทำลายสีรถพังแบบไม่รู้ตัว เพราะคราบสนิมจากหลังคาขณะฝนตกจะมีการไหลลงมายังรถนั่นเอง

สีรถยนต์ถือว่าเป็นหน้าตาด่านแรกสำหรับคนรักรถยนต์ หากเราสามารถหยุด 10 พฤติกรรมทำลายสีรถ ดังกล่าวข้างต้นได้ ก็จะเป็นการถนอมและปกป้องสีรถยนต์ได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้นควรเริ่มดูแลและหยุดพฤติกรรมทำลายสีรถตั้งแต่วันนี้ เพราะการดูแลรถยนต์เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวสำหรับเจ้าของรถทุกคน

——-
ติดต่อเราผ่านช่องทางด้านล่างได้เลย 😊
Line : @99Autocare
Facebook : 99Autocare
โทรติดต่อ : 080-496-4654
คลิกดูสินค้าอื่น ๆ : www.9autocare.com/shop
คลิกดูช่องทางติดต่ออื่น ๆ : www.9autocare.com/contact-us

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น